News - Dow Family Thailand

News

ซิลเวีย สเตเซอร์ นักวิจัยหญิงคนแรกของ Dow ผู้คิดค้นวัสดุสารพัดประโยชน์



>
                                    </a>
                                    <hr class=


ดร. ซิลเวีย สเตเซอร์ เป็นนักวิจัยหญิงคนแรกของบริษัท Dow ซึ่งเป็นสตรีผู้บุกเบิกงานด้านแมททีเรียลส์ ไซแอนซ์ ในช่วงทศวรรษที่ 1930 ผลงานในวงการวิทยาศาสตร์ด้านเคมีวิทยาของเธอนั้นได้รับการยกย่องในวงกว้าง โดยมีส่วนสำคัญในการคิดค้น พลาสติก “โพลีสไตรลีน” ซึ่งเป็นวัสดุสารพัดประโยชน์ที่ใช้ผลิตสิ่งของต่างๆ ในชีวิตประจำวันมากมายจนถึงปัจจุบัน เช่น ปากกา โทรทัศน์ พัดลม ตู้เย็น แอร์ เครื่องคิดเลข เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องคอมพิวเตอร์ ของเด็กเล่น ฯลฯ เธอยังเป็นผู้พัฒนาผลิตภัณฑ์ฟิล์มพลาสติกแร็พชนิดใส ซึ่งในปัจจุบันนิยมใช้เพื่อถนอมอาหาร ห่อกระเช้าปีใหม่ พันลังสินค้าไม่ให้เคลื่อนในระหว่างขนส่ง และอื่นๆ นอกจากนี้ งานวิจัยของเธอยังได้ถูกนำไปต่อยอดเพื่อสร้างเป็นวัสดุที่จำเป็นในชีวิตประจำวันอื่นๆ เช่น กล่องโฟมแช่อาหาร โฟมกันกระแทก และยังปฏิวัติการสร้างสารทำละลาย (solvents) ที่ปลอดภัยขึ้นในอุตสาหกรรมการซักแห้ง


ซิลเวีย เกอร์เกิน (สกุลเดิม) เกิดเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม ค.. 1901 ณ เมืองบัฟฟาโล รัฐนิวยอร์ค และจบปริญญาตรี เกียรตินิยมอันดับสองในสาขาเคมีวิทยา จากมหาวิทยาลัยบัฟฟาโล ในปีค.. 1923 ต่อมาไม่นาน เธอได้เข้าศึกษาในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกในสาขาเคมีกายภาพจากมหาวิทยาลัยไอโอวา


หลังจบการศึกษา เธอเข้าทำงานที่ห้องแล็บโรงงานน้ำตาลของสำนักงานมาตรฐานนานาชาติ (National Bureau of Standards) ในรัฐวอชิงตัน ดีซี และทำการศึกษาวิจัยคิดค้นสารทดแทนน้ำตาลสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน  โดยในปี ค.ศ. 1928 นาย เวสลีย์ สเตเซอร์ ซึ่งเป็นคู่หมั้นของซิลเวียในตอนนั้นได้เข้ามาทำงานที่บริษัทDow เคมิคอล เมืองมิดแลนด์ มลรัฐมิชิแกน


ในปีค.. 1929 นายเฮอร์เบิร์ต เฮนรี่ ดาว ผู้ก่อตั้งบริษัท Dow ได้ตัดสินใจจ้าง ดร. ซิลเวียเข้ามาทำงานในตำแหน่งนักวิจัยด้านเคมีวิทยาที่ห้องวิจัยของกลุ่มบริษัท Dow โดย ดร. ซิลเวียเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้รับการว่าจ้างในฐานะนักวิทยาศาสตร์ของ Dow เป็นผู้หญิงคนเดียวที่ทำงานในห้องวิจัยของ Dow ในสมัยนั้น และ เป็นบุคคลเดียวในห้องวิจัยในขณะนั้นที่จบการศึกษาระดับปริญญาเอก


แม้จะเป็นผู้หญิงคนเดียวในห้องวิจัยของ Dow ในสมัยนั้น ซึ่งเต็มไปด้วยเพื่อนร่วมงานผู้ชาย แต่ด้วยความสามารถและความเชี่ยวชาญ ดร. ซิลเวียก็ได้รับการยอมรับอย่างมาก เธอเป็นนักวิจัยคนแรกที่ค้นพบการประยุกต์ใช้การยับยั้งกรดอินทรีย์เพื่อนำมากระตุ้นการผลิตน้ำมันในบ่อน้ำมัน อันนำไปสู่การแจ้งเกิดของสิทธิบัตร 5 ใบของเธอในภายหลัง งานวิจัยนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างบริษัทลูกของ Dow นั่นก็คือ บริษัทดูเวล (Dowell) ในปี 1932 ซึ่งกลายมาเป็นธุรกิจหลักพันล้านดอลลาร์สหรัฐในภายหลัง


ดร. ซิลเวียมีบทบาทในการคิดค้นและพัฒนาการเปลี่ยนโพลิเมอร์สไตรีนให้เป็นโพลิสไตรีนซึ่งนับได้ว่าเป็นผลงานที่ทรงคุณค่าและสำคัญที่สุดของเธอในปี ค.ศ. 1930 อันเป็นที่มาของสิทธิบัตรอีก 12 ใบ ตอนที่เราเริ่มทำการศึกษาวิจัยและทดลองตัวสารสไตรีนนั้น ทุกคนต่างคิดว่ามันคงไม่มีทางประสบผลสำเร็จแน่ๆ ดร. ซิลเวียได้กล่าวไว้ในหนึ่งในจดหมายเหตุของเธอ การพัฒนาสไตรีนให้เป็นผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์นั้นดูแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยในตอนแรกที่เราเริ่มทำการวิจัย” ซึ่งในปัจจุบันพลาสติกโพลีสไตรลีนเป็นวัสดุสำคัญในการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์ไอที เครื่องเขียน ของเล่น และเฟอร์นิเจอร์มากมายในชีวิตประจำวันของผู้คนทั่วโลก


ผลงานด้านการวิจัยของซิลเวียยังมีส่วนช่วยในการปฏิวัติอุตสาหกรรมการซักแห้งอีกด้วย จากการผลิตคิดค้นการซักน้ำมัน Perchloroethylene หรือ PERC เป็นน้ำมันชนิดที่ใช้ในการซักแห้ง ที่ไม่ติดไฟและไม่ระเบิด มีความปลอดภัยมากกว่าสารละลายแนฟทาที่ติดไฟได้ ซึ่งเป็นที่นิยมใช้อยู่ในขณะนั้น อย่างไรก็ตามได้มีการค้นพบในภายหลังว่าเป็นสารที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จึงได้ยุติการใช้ไปในช่วงประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา


ดร. ซิลเวีย สเตเซอร์ ได้ทำงานอยู่ที่บริษัท Dow เป็นเวลา 11 ปี โดยงานค้นคว้าวิจัยของเธอได้รับการจดสิทธิบัตรเป็นจำนวนถึง 29 ชิ้น ก่อนจะผันตัวไปเป็นคุณแม่เต็มเวลาในปี ค.ศ. 1940 ซึ่งในยุคนั้นการที่ผู้หญิงคนหนึ่งจะให้ความสำคัญต่ออาชีพของตน จนถึงขั้นที่เธอตัดสินใจจะมีลูกตอนอายุเกือบ 40 นั้นถือเป็นแนวคิดสมัยใหม่ที่ไม่เหมือนใคร โดยหลังจากลาออกจากการเป็นนักวิจัย เธอยังคงทำงานอิสระเป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัท Dow อีกเป็นเวลาหลายปี


ในเดือนตุลาคม 1992 ดร. ซิลเวีย สเตเซอร์ ได้รับการแต่งตั้งให้เข้าสู่หอเกียรติยศสตรีมิชิแกน (Michigan Women’s Hall of Fame) ด้วยผลงานการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเธอ ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น มหาวิทยาลัยแห่งรัฐไอโอวาได้จัดตั้งทุนการศึกษา Sylvia Stoesser Memorial Scholarship ประจำปี เพื่อให้การสนับสนุนผู้หญิงที่สนใจอาชีพด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม


และเมื่อไม่นานมานี้ กลุ่มบริษัท Dow ได้มีการเปิดตัวอาคารที่เพิ่งได้รับการออกแบบใหม่ ภายใต้ชื่อ Sylvia Stoesser Center โดยมีพนักงานจำนวน 350 คนทำงานในอาคารนี้ ตัวอาคารถูกสร้างขึ้นอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีองค์ประกอบการออกแบบหลักที่ไม่เหมือนใคร เช่น "ห้องคุณแม่" ใช้ในการดูแลลูกๆ ห้องน้ำสำหรับเพศทางเลือก (Gender-neutral restroom) และห้องประชุมเล็กเอนกประสงค์จำนวนมากเพื่อส่งเสริมการทำงานร่วมกัน


ดร. ซิลเวียเสียชีวิตลงในวัย 89 ปี แต่ผลงานของเธอซึ่งเป็นสิ่งยืนยันว่า “ผู้หญิง” นั้นมีความสามารถในด้านวิทยาศาสตร์ได้ไม่แพ้ผู้ชาย และ ตำนานของนักวิจัยหญิงคนแรกของ Dow ซึ่งเป็นบริษัทวิทยาศาสตร์ชั้นนำระดับโลกจะยังคงอยู่ต่อไปตราบนานเท่านาน

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

https://twitter.com/DowNewsroom/status/1346211474612563974?s=20

https://www.chemistryworld.com/culture/sylvia-stoesser-the-first-female-chemist-at-dow/4012827.article?fbclid=IwAR1uDWnP3wb-oKFL7SR9UrVud1vi29Rk4XLE-nXf3Q1dknmG7hcpVQ2in8c&adredir=1