News - Dow Family Thailand

News

Dow เปิดตัวโครงการใหม่เพื่อรีไซเคิลขยะพลาสติกในงาน Sustainability Week Asia 2025



>
                                    </a>
                                    <hr class=


เรื่องโดย ลมลเพชร อภิสิทธิ์นิรันดร์ จาก Dow launches new drive to recycle plastic waste โดย Bangkok Post

อ่านบทความต้นฉบับได้ที่ : https://www.bangkokpost.com/business/general/3005757/dow-launches-new-drive-to-recycle-plastic-waste


          ผู้นำด้านความยั่งยืนอย่าง Dow ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการประชุม Sustainability Week Asia ครั้งที่ 4 ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ โดย บริษัทสื่อระดับโลกอย่าง Economist Impact ในงานนี้ ผู้นำและผู้เชี่ยวชาญกว่า 1,000 คนได้มารวมตัวกันที่กรุงเทพฯ เพื่อหารือเกี่ยวกับแนวคิดและการพัฒนาในแง่มุมต่างๆ สำหรับการเปลี่ยนผ่านโลกสู่สังคมแห่งความยั่งยืน ในระหว่างการประชุมตลอด 2 วันเมื่อวันที่ 25-26 มี.. ที่ผ่านมา ที่โรงแรม ดิ แอทธินี โฮเทล แบงค็อก

          บรรดาบริษัทชั้นนำที่เข้าร่วมรวมถึง Dow ได้แบ่งปันข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับวิธีการเปลี่ยนขยะพลาสติกที่เดิมต้องถูกทิ้งสู่หลุมฝังกลบ ให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ด้วยนวัตกรรมพลาสติกหมุนเวียน โดย Dow มุ่งเน้นไปที่การรีไซเคิลพลาสติกและการมุ่งมั่นในการพัฒนานวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดของ Dow ให้สามารถรองรับการออกแบบเพื่อการรีไซเคิลและตอบโจทย์ Circular Economy

          Dow บริษัทชั้นนำระดับโลกด้านวัสดุศาสตร์ มีความพยายามอย่างยิ่งในการเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดและชะลอการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก โดยการพัฒนาและแก้ไขระบบการจัดการขยะพลาสติก ซึ่งนี่ไม่ใช่เพียงพันธกิจของ Dow แต่ถือเป็นวาระสำคัญระดับประเทศและโลก ในการปกป้องสภาพภูมิอากาศโดยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดย Dow ต้องอาศัยความร่วมมือจากองค์กรพันธมิตรเพื่อเสริมสร้างการดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ และเพื่อให้สอดคล้องกับการที่องค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้ปี 2050 เป็นปีที่ประเทศต่างๆ ควรสร้างสมดุลระหว่างการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการดูดซับก๊าซเหล่านั้น ซึ่งหมายถึงการวางแผนในการลดก๊าซเหล่านี้ลง 45%  ควรเกิดขึ้นได้จริงในช่วงทศวรรษหน้า


พลาสติกหมุนเวียนจาก Dow

          Dow กำลังพัฒนา นวัตกรรมสำหรับบรรจุภัณฑ์เพื่อการรีไซเคิลขยะพลาสติก ซึ่งช่วยลดความจำเป็นในการผลิตพลาสติกใหม่ ซึ่งส่งผลให้เกิด Carbon Footprint มหาศาล โดยตลอดวงจรชีวิตของพลาสติกเกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานปริมาณมากในการขุดก๊าซธรรมชาติ น้ำมันและเปลี่ยนให้เป็นผลิตภัณฑ์โพลิเมอร์ต่างๆ ตั้งแต่โพลียูรีเทนที่ใช้ในฉนวนกันความร้อน เช่น หลังคาแผ่นโลหะและตู้เย็น ไปจนถึงโพลีเอทิลีนที่นำไปผลิตเป็นถุงบรรจุภัณฑ์ หลอดยาสีฟัน และฟิล์มรัดสินค้า

เรามุ่งลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิประจำปีของเราลง 5 ล้านเมตริกตัน เทียบกับฐานปี 2020 ภายในปี 2030 ซึ่งต้องการการลดลง ให้ได้ 15%” Kodak Xiao Asia-Pacific business sustainability lead of Dow Packaging & Specialty Plastics ผู้นำด้านความยั่งยืนของDow กล่าว


          Kodak Xiao กล่าวเสริมว่า “บริษัทต้องการเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2050 การจัดการการรีไซเคิลพลาสติกจะเป็นตัวแปรสำคัญ ในการเดินทางสู่เป้าหมายนี้ ซึ่งจะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับ Dow ในฐานะพันธมิตรด้านโซลูชั่นที่ยั่งยืนระดับโลกแก่ลูกค้าและเจ้าของแบรนด์”

เราต้องการปิดวงจรโดยทำให้ผลิตภัณฑ์ของ Dow ที่จัดจำหน่ายสำหรับอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์สามารถนำกลับมาใช้ใหม่หรือรีไซเคิลได้ 100% ภายในปี 2035” ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ของ Dow มากกว่า 80% สำหรับการผลิตบรรจุภัณฑ์ ได้รับการออกแบบเพื่อการรีไซเคิล 20% ที่เหลือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ยังคงมีความท้าทาย แต่เรามั่นใจว่าเราจะสามารถบรรลุเป้าหมาย 100% ให้ได้ผ่านนวัตกรรมและความร่วมมือตลอด Supply Chain ของเรา”

ปีที่แล้ว Dow เข้าซื้อกิจการบริษัทรีไซเคิล Circulus ในอเมริกาเหนือ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการรีไซเคิล   โพลีเอทิลีน การลงทุนครั้งนี้จะช่วยสนับสนุนความสามารถของ Dow ในการเปลี่ยนขยะพลาสติกและรูปแบบอื่นๆ ของวัตถุดิบทางเลือก ให้กลายเป็นนวัตกรรมที่สามารถหมุนเวียนและนำกลับมาใช้ใหม่ให้ได้ 3 ล้านเมตริกตันต่อปีภายในปี 2030

การทำเช่นนี้ เรากำลังสร้างระบบนิเวศของวัสดุเพื่อรวบรวม นำกลับมาใช้ใหม่ หรือรีไซเคิลขยะ และขยายพอร์ตโฟลิโอของตลาดเพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว” การดำเนินการเหล่านี้จะช่วยเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจและสนับสนุนความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับสัดส่วนวัสดุรีไซเคิลหลังการบริโภค (Post-Consumer Recycled Content) ที่มีคุณภาพสูงในตลาดโลก

          นอกจากการรีไซเคิลแล้ว Dow กำลังพัฒนาโรงงานผลิตเอทิลีนแบบบูรณาการที่ปล่อยก๊าซสุทธิเป็นศูนย์แห่งแรกของโลกในเมือง Fort Saskatchewan รัฐอัลเบอร์ตา ประเทศแคนาดา โครงการนี้เรียกว่า Path2Zero ซึ่งมีเป้าหมายที่จะลดคาร์บอนประมาณ 20% ของกำลังการผลิตเอทิลีนทั่วโลกของ Dow

นอกจากนี้การดักจับและกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture and Storage (CCS)) เป็นตัวเลือกทางเทคโนโลยีที่สำคัญในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และจะเป็นส่วนสำคัญในการบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซสุทธิเป็นศูนย์


ความร่วมมือเพื่อสนับสนุนภารกิจ

          “Dow กำลังทำงานร่วมกับพันธมิตรจากทั่วทั้งห่วงโซ่คุณค่าเพื่อหาวิธีการใหม่ๆ ในการต่อสู้กับขยะพลาสติกที่จัดการไม่ดีและป้องกันไม่ให้เข้าสู่สิ่งแวดล้อม”             Kodak Xiao กล่าว

การจัดการพลาสติกที่ดีขึ้นเป็นส่วนสำคัญของความพยายามเพื่อแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมทั่วโลก เนื่องจากผลิตภัณฑ์พลาสติกถูกใช้ในเกือบทุกด้านของชีวิตประจำวัน ตั้งแต่เสื้อผ้าและรองเท้าไปจนถึงสิ่งของสำหรับอาหารและการใช้งานด้านสาธารณสุข

ในปี 2024 Dow ได้ร่วมมือกับ SCG Chemicals ซึ่งเป็นบริษัทด้านปิโตรเคมีชั้นนำของไทย เพื่อผลักดันการพัฒนาพลาสติกหมุนเวียน ทั้งสองบริษัทตกลงที่จะร่วมกันขับเคลื่อนและยกระดับระบบนิเวศพลาสติกหมุนเวียนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ โดยการเปลี่ยนขยะพลาสติก 200,000 ตัน ให้เป็นผลิตภัณฑ์หมุนเวียนภายในปี 2030 ความร่วมมือนี้จะช่วยสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีในการรีไซเคิลเชิงกลและการรีไซเคิลขั้นสูง

          การรีไซเคิลเชิงกลเกี่ยวข้องกับกระบวนการทางกายภาพในการรีไซเคิลพลาสติก รวมถึงการคัดแยก การตัด การล้าง การหลอม และการขึ้นรูปพลาสติกใหม่ ในขณะที่การรีไซเคิลขั้นสูงอิงตามวิธีการในการสลายขยะพลาสติกให้เป็นโครงสร้างทางเคมีแบบมาตรฐาน รวมถึงไฮโดรคาร์บอนพื้นฐาน

          ทั้ง Dow และ SCGC จะเริ่มต้นด้วยการสร้างความร่วมมือในการขยายการเติบโตทางมูลค่าสำหรับ Post-Consumer Recycled (PCR) Resin กับคู่ค้าปัจจุบัน และจะพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีในการคัดแยกขยะ การรีไซเคิลเชิงกล และการรีไซเคิลขั้นสูงในประเทศไทยต่อไป โดยคาดว่าขั้นต่อไปของความร่วมมือจะรวมไปถึงการจัดหาวัตถุดิบขยะพลาสติกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงการขยายไปยังส่วนอื่นๆ ของภูมิภาค เช่น จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ อีกด้วย